Vedic Mathematics

               
เทคนิคการคิดเลขเร็วแบบอินเดีย (เวทคณิต)
Vedic Mathematic
     หลายคนคงคุ้นเคยกับการดำเนินการทางคณิตศาสตร์ ทั้งการบวก การลบ การคูณ และการหาร 
ซึ่งในแต่ละการดำเนินการนั้นมีวิธีการคำนวณแตกต่างกันออกไป อย่างการคูณ คุณผู้อ่านคิดว่า อะไรเป็นเครื่องมือสำคัญในการคูณ ? คำตอบคือ “แม่สูตรคูณ” นั่นเอง ส่วนวิธีการคูณนั้นทำได้โดยตั้งตัวตั้งกับตัวคูณให้แต่ละหลักตรงกัน แล้วเริ่มคูณจากหลักหน่วย หลักสิบ หลักร้อย เรื่อย ๆ ไปทีละหลัก จากนั้นรวมผลคูณที่เราคูณได้แต่ละหลัก ซึ่งเราก็จะได้ผลลัพธ์ออกมา แต่บทความนี้ผู้เขียนจะนำเสนอวิธีการคูณในอีกแบบหนึ่งที่น่าสนใจ นั่นคือ “การคูณแบบอินเดีย” นั่นเองจ้า

การคูณแบบอินเดียเป็นแบบไหนนะ ? เรามารู้จัก “การคูณแบบอินเดีย” กัน


         การคูณแบบอินเดียนั้นมีหลายแบบหลายวิธี ซึ่งผู้เขียนขอยกตัวอย่างการคูณโดยใช้ตาราง มันจะยากกว่าการคูณแบบปกติไหม น้าาาาา เรามารู้จักกันเลย......


ยกตัวอย่าง       789 x 28 = ?
หน้าตาของวิธีการคูณแบบอินเดีย เป็นดังนี้






ภาพ : Nune Yotsavadee


           เมื่อได้เห็นหน้าตาของการคูณแบบอินเดียแล้ว อยากจะรู้ใช่ไหมล่ะว่า การคูณแบบอินเดียนั้นมีวิธีการอย่างไร เราไปรู้จักวิธีการคูณแบบอินเดียกันเลย

ขั้นตอนในการคูณเลขแบบอินเดีย
มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน (สร้าง ใส่ คูณ บวก ตอบ) ดังนี้
1. สร้าง: สร้างตารางโดยให้มีจำนวนคอลัมน์ = จำนวนหลักของตัวตั้ง และมีจำนวนแถว = จำนวนหลักของตัวคูณ เช่น 789 x 28 ดังนั้น ตารางต้องมีจำนวนคอลัมน์ เท่ากับ 3 คอลัมน์ จำนวนแถว เท่ากับ 2 แถว นั่นคือ สร้างตาราง 3 x 2 แล้วขีดเส้นแบ่งช่องตาราง ดังรูป




ภาพ : Nune Yotsavadee


2. ใส่: ใส่ตัวเลขของตัวตั้ง (789) เหนือตารางที่สร้างไว้ และใส่ตัวเลขของตัวคูณ (28) ข้างขวาของตารางที่สร้างไว้ ดังรูป




ภาพ : Nune Yotsavadee


3. คูณ: คูณตัวเลขลงในตารางแต่ละช่อง หากจะเติมตัวเลขลงในคอลัมน์ที่ 1 แถวที่ 1 ให้นำตัวเลขที่อยู่เหนือคอลัมน์ที่ 1 คูณกับตัวเลขที่อยู่ตรงแถวที่ 1 จากตัวอย่างคือ 7 x 2 = 14 ดังนั้น เราจะเติม 14 ลงในคอลัมน์ที่ 1 แถวที่ 1 เนื่องจากมี 2 ช่อง จึงต้องใช้ตัวเลขสองหลักในการเติมตัวเลขลงในตาราง ทำเช่นนี้จนใส่ตัวเลขครบทุกช่อง ดังรูป




ภาพ : : Nune Yotsavadee


4. บวก: บวกเลขในแต่ละแนวเฉียง ในขั้นตอนนี้เหมือนเป็นการบวกเลขไปทีละหลัก โดยเริ่มบวกจากขวามือ (เสมือนเป็นหลักหน่วย) ไปซ้ายมือ หากผลบวกแนวเฉียงนั้น ๆ เท่ากับ 10 ขึ้นไป การทดตัวเลขให้ทดตัวเลขในช่องถัดไป ดังรูป




ภาพ : Nune Yotsavadee


5. ตอบ : คำตอบก็คือตัวเลขที่เราบวกไปในขั้นตอนที่ 4 เริ่มเขียนตัวเลขจากซ้ายมือไปขวามือ ดังรูป






ภาพ : Nune Yotsavadee


ดังนั้น คำตอบคือ 789 x 28 = 22,092
     
         เมื่ออ่านจบอาจจะเกิดคำถามว่า ถ้าตัวตั้งไม่ใช่ 3 หลักล่ะ ? ตัวคูณไม่ใช่ 2 หลักล่ะ ? สามารถทำได้ไหม ? ขอตอบตรงนี้ว่า ทำได้จ้า! แค่ปรับการสร้างตารางในขั้นตอนที่ 1 ตามจำนวนหลักของตัวตั้งและตัวคูณ แล้วทำซ้ำในขั้นตอนที่ 2 ถึง 5 เช่นเดิม
        คุณผู้อ่านคะ หาเศษกระดาษที่อยู่รอบ ๆ ตัว แล้วมาลองคูณเลขแบบอินเดียดูกันดีกว่า อย่าเพิ่งเลื่อนดูเฉลยก่อนนะ (เฉลยอยู่ท้ายบทความ)

โจทย์ที่ 1 : 263 x 52 = ?
โจทย์ที่ 2 : 2019 x 146 = ?

         จากที่คุณผู้อ่านได้ลองทำโจทย์แล้วนั้น คุณผู้อ่านคิดเหมือนผู้เขียนไหมว่า การคูณแบบอินเดียอาจจะไม่ได้แตกต่างจากการคูณเลขที่เราเคยเรียนมาเสียเท่าไร การคูณแบบปกติที่เราเรียนมานั้นจะมีการหาผลลัพธ์เป็นแนวเส้นตรงทีละหลักเลย เพียงแต่การคูณแบบอินเดียมีการหาผลลัพธ์เป็นแนวเฉียง จึงทำให้รูปแบบการคูณแบบอินเดียดูน่าสนใจขึ้น
เฉลย
โจทย์ที่ 1 : 263 x 52 = ?




ภาพ : Nune Yotsavadee


ดังนั้น คำตอบคือ 263 x 52 = 13,676
 โจทย์ที่ 2 : 2019 x 146 = ?




ภาพ : Nune Yotsavadee


ดังนั้น คำตอบคือ 2019 x 146 = 294774

เพิ่มเติม :

บรรณานุกรม

ความคิดเห็น

  1. เนื้อหาในบล็อกมีความน่าสนใจมากค่ะ ทำให้รู้เทคนิคการคิดเลขที่สามารถนำมาใช้กับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ได้ดีเลยค่ะ

    ตอบลบ
  2. ว้าววว ได้เทคนิคใหม่อีกแล้ว น่าสนใจมาก

    ตอบลบ
  3. เนื้อหามีความความเข้าใจมากครับ มีเทคนิดที่สามารถเอาไปใช้ได้จริงๆครับ

    ตอบลบ
  4. บล็อกน่ารักมาก น่าอ่านและเนื้อหาก็เข้าใจง่าย

    ตอบลบ
  5. เนื้อหาน่าสนใจมากค่ะ ได้เทคนิคการคิดเลขแบบใหม่เพิ่มด้วย และบล็อกอ่านง่ายสบายตาด้วยค่ะ

    ตอบลบ
  6. เนื้อหาน่าสนใจ เข้าใจง่ายค่ะ

    ตอบลบ
  7. เนื้อหาเข้าใจง่ายมากค่ะ เป็นเทคนิคที่น่าสนใจ สามารถนำไปปรับใช้กับบทเรียนได้

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น